จังหวัดนครพนม
- แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม
พระธาตุพนม พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนมห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นสถานที่เคารพนับถือทั้งของชาวไทยและชาวลาว ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 1200 – 1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะพระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” | |
พระธาตุท่าอุเทน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน ห่างจากตัวเมืองนครพนม ตามเส้นทางนครพนม - ท่าอุเทน ประมาณ 26 กิโลเมตร รูปทรงคล้ายองค์พระธาตุพนม เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ซึ่งบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี | |
พระธาตุประสิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุประสิทธิ์ ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจากจังหวัดนครพนม ประมาณ 98 กิโลเมตร เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องถิ่นและใกล้เคียงเคารพนับถือมาก | |
พระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโฆษิตดาราม ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม สกลนคร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระ อรหันต์ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมาก | |
พระธาตุเรณูนคร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุเรณู อำเภอเรณูนคร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมประมาณ 51 กิโลเมตร โดยพระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนม ภายในพระธาตุเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎกและพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอ | |
พระธาตุศรีคุณ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนมประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอนาแก ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม | |
พระธาตุนคร
ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนสุนทรวิจิตร
เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม เป็นปูชนียสถานสำคัญ มีเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
และยังมีโบสถ์เก่าแก่สวยงาม |
- แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
(แยกตามอำเภอ)
- อำเภอเมืองนครพนม
วัดโอกาสศรีบัวบาน ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐานพระติ้วกับพระเทียมอยู่คู่กัน พระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม พระติ้ว เป็นพระพุทธรูปปางเพชรมารวิชัย ทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร สร้างโดยเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร เมื่อ พ.ศ. 1328 ส่วน พระเทียม มีลักษณะและขนาดเดียวกับพระติ้ว สร้างในสมัยพระเจ้าขัติยวงศา และมีการสมโภชให้พระติ้ว พระเทียม เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน | |
วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนศรีเทพ เยื้องโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติที่สวยงาม และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสง ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระสุกและหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) ข้าง ๆ โบสถ์มีเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวนครพนมเคารพนับถือ ส่วนรูปปั้นนั้นจะอยู่ในตึกเทพสิทธาราม และที่น่าชมอีกอย่างหนึ่งคือ อาคารที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในด้านปูชนียสถานและวัดวาอาราม จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ | |
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม วัดมหาธาตุสร้างในปี พ.ศ. 1150 โดยพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่ที่มาจากเวียงจันทน์ มีพระธาตุนครลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ 5.85 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร เป็นปูชนียสถานสำคัญ และยังมีโบสถ์เก่าแก่สวยงามมาก | |
วัดนักบุญอันนา หนองแสง ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 โดยคุณพ่อเอทัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนาหนองแสงนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อ ชาติอาศัยอยู่สถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา ในช่วงก่อนวันคริสต์มาส ชาวคริสต์แต่ละชุมชนจะประดิษฐ์ดาวรูปแบบต่าง ๆ แล้วแห่มารวมกันไว้ที่นี่ | |
วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมแม่น้ำโขง ภายในกุฎิเจ้าอาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัย และเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้าง ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเคยทำพิธีสรงน้ำพระทองในวันสงกรานต์ แต่มักจะเกิดพายุและฝนตกหนักทุกครั้ง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูปองค์อื่นแทน ปัจจุบันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะนิมนต์มาตั้งไว้ที่หน้าโบสถ์ให้ชาวบ้านมาสรงน้ำ และในวันออกพรรษาชาวบ้านห้อมจะมาทอดปราสาทผึ้งที่วัดนี้ทุกปี | |
พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีความสวยงาม เนื่องจากการก่อสร้างได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส ช่วงสมัยสงครามอินโด แม้จะมีอายุที่เก่าแก่มากแล้ว แต่ยังคงรักษาสภาพและความสวยงามต่างๆ ไว้ได้อย่างดี ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของเมือง นครพนมได้อย่างน่าสนใจ | |
สวนหลวง ร.9 จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมทางด้านทิศเหนือ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน | |
เขื่อนหน้าเมืองนครพนม เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองนครพนม และเป็นจุดชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง บริเวณเขื่อนหน้าเมืองนครพนมนี้อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | |
หาดทรายทองศรีโคตรบูร เป็นหาดทรายน้ำจืดที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ในฤดูแล้ง (ราวเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) หาดทรายจะยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง หาดทรายนี้จะอยู่ตรงข้ามกับที่ทำการแขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามของธรรมชาติ | |
หมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนาม หรือ บ้านนาจอก (บ้านท่านโฮจิมินห์) เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายโฮจิมินห์ได้เคยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อกอบกู้เอกราชของวียดนาม ระหว่างปี พ.ศ. 2467–2474 ผู้สนใจเข้าชมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4252 2430 ที่หมู่บ้านนี้จะปลูกต้นไม้รอบบ้านอย่างร่มรื่น เช่น ต้นหมาก พลู กล้วย และชา นอกจากนี้บริเวณริมถนนยังมีร้านก๋วยเตี๋ยวและอาหารเวียดนามขายอีกด้วย การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 เส้นนครพนม-สกลนคร บริเวณกิโลเมตรที่ 237-238 |
• อำเภอท่าอุเทน
![]() |
|
![]() |
• อำเภอบ้านแพง

อุทยานแห่งชาติภูลังกา อุทยานแห่งชาติภูลังกาครอบคลุมพื้นที่ของตำบลไผล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 31,250 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขาทับซ้อนกัน 3 ลูก สลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กสลับซับซ้อนทอดยาวตามแนวลำน้ำโขง สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังที่สมบูรณ์มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของน้ำตก และลำธารใหญ่น้อยหลายสาย ช่วงฤดูท่องเที่ยวระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม เป็นช่วงที่มีดอกไม้ กล้วยไม้ป่าและรองเท้านารีบานสะพรั่ง บนยอดภูลังกา
|
• อำเภอธาตุพนม

พระธาตุพนม ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200–1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น พระธาตุพนมยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่น ๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม 1 ครั้ง ก็ถือเป็นมงคลแก่ชีวิตแล้ว ในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกัม ปัจจุบันองค์ พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 53 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 หรือจากสถานีขนส่งในอำเภอเมือง มีรถปรับอากาศและรถธรรมดาไปยังพระธาตุฯ |
• อำเภอเรณูนคร

เรณูนคร
เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย
ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ
ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ
การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง
การชวนดูดอุ (ชวนกันไปดื่มเหล้าหมักที่อยู่ในไห)
การฟ้อนรำผู้ไทย
นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่าง
ๆ
ไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย
โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุเรณู และตลาดอำเภอเรณูนคร
การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาว
ผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน
จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย
ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า
“ฟ้อนละครไทย”
เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน
โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานในงานเทศกาลเดือนห้าและเดือนหก
ซึ่งจะมีประเพณีบุญบั้งไฟและมีการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู
ในการฟ้อนรำสมัยก่อนนั้น
เป็นการฟ้อนรำตามความถนัดและความสามารถ
ความชำนาญของแต่ละบุคคล
ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน
แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำต่าง ๆ ที่แสดงออกมา
ส่วนมากเป็นผู้ชายล้วน
ๆ จับกลุ่มฟ้อนรำกันเพื่ออวดสาว ๆ
ปัจจุบันเป็นการฟ้อนรำของหญิงชายคู่กัน
โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก
นับเป็นศิลปะที่สวยงามละเอียดอ่อนหาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
การเดินทาง อยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กิโลเมตร
และห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้
51 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 212
ถึงประมาณกิโลเมตรที่
44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7
กิโลเมตร
ทางลาดยางตลอด![]() |
|
พระธาตุเรณู ประดิษฐานอยู่วัดธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 โดยพระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง นอกจากนี้ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอเรณูนคร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก การเดินทาง จากสถานีขนส่งมีรถสองแถวประจำทางไปพระธาตุเรณูนคร อัตราค่าโดยสารคนละประมาณ 40 บาท |
• อำเภอนาแก

พระธาตุศรีคุณ ห่างจากอำเภอธาตุพนมตามเส้นทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 223 ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก และเลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศรีคุณซึ่งเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาว อำเภอนาแก ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม | |
วัดภูถ้ำพระ อยู่ห่างจากบ้านนาแกน้อยไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ปราสาททอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน | |
ดานสาวคอย
ตั้งอยู่บริเวณวัดภูพานอุดมธรรม
บนเทือกเขาภูพาน ห่างจากอำเภอนาแกประมาณ 6 กิโลเมตร
(เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นครพนม) การเดินทางขึ้นไปควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
เพราะทางขึ้นขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของดานสาวคอย (คำว่า ดาน
ในภาษาอีสานหมายถึง
ลาน) เป็นลานหินเรียบ มีต้นไม้เบญจพรรณขึ้นประปราย
เมื่อขึ้นถึงลานหินนี้แล้วสามารถมองเห็นยอดพระธาตุพนม
ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้เนื่องมาจากหนุ่มสาวชาวบ้านสมัยก่อนเวลาจะไปหา
ของป่าจะนัดหมายมาคอยกันที่ลานหินนี้เป็นประจำ
หรือมาเที่ยวชมความงามโดยฝ่ายสาวจะมาเป็นผู้คอย
จึงได้ชื่อว่า
“ดานสาวคอย” • อำเภอปลาปาก |
วัดพระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย องค์พระธาตุสูง 37 เมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุ มหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดนี้ยังเคยเป็นที่จำพรรษาของพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครพนม-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 22 (กิโลเมตรที่ 201-202 เลี้ยวซ้ายเข้าวัดอีก 2 กิโลเมตร |
• อำเภอนาหว้า

พระธาตุประสิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ 13 ตำบลนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองนครพนมประมาณ 98 กิโลเมตร สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทน ถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 72 กิโลเมตร เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องถิ่นและใกล้เคียงเคารพนับถือมาก |
งานนมัสการพระธาตุพนม กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาว นครพนมและจังหวัดใกล้เคียง | |
ประเพณีการไหลเรือไฟ จัดขึ้นในวันออกพรรษาของทุกปีคือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาเทพเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จมาจากเทวโลก วันนี้เรียกว่า“วันพระเจ้าเปิดโลก” การไหลเรือไฟคือการสักการบูชาอย่างหนึ่ง เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วย หรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือ ภายในบรรจุขนมข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาค ข้างนอกเรือมีดอกไม้ธูปเทียน ตะเกียง และขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อนปล่อยเรือไฟ | |
ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีของชนเผ่าแสก ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาจสามารถ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่ เต้นกันเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ | |
การฟ้อนผู้ไทย เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยจะฟ้อนในงานเทศกาลเดือน 5 และเดือน 6 สมัยก่อนจะฟ้อนกันตามความถนัด และความสามารถแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียง แต่เน้นลีลาการฟ้อนรำของชายหญิงคู่กันยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะ ที่สวยงามหาชมได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวผู้ไทยยังมีการต้อนรับด้วยการบายศรี สู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ | |
โซ่ทั่งบั้ง เป็นประเพณีของชาวโซ่ (โส้) เป็นชนเผ่าหนึ่งคล้ำกว่าชาวอีสานทั่วไป มีภาษาเป็นของตนเอง การเต้นโซ่ทั่งบั้ง เป็นการรำในงานศพเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสุขสบายในชาติหน้า การรำมีทั้งชายและหญิง โดยส่วนใหญ่มีอยู่ที่อำเภอโพนสวรรค์ | |
การแข่งเรือ
(ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน
โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วม
กันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ
และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย
จัดขึ้นในลำน้ำโขง บริเวณหน้าเขื่อนนครพนม
มีระยะทางแข่งขัน
3 กิโลเมตร
ในร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง |